วันอังคารที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2554

คีตกวีไทย

           
        คีตกวี ในภาษาไทยนี้นิยมใช้เรียกผู้ประพันธ์ดนตรีในแนวดนตรีคลาสสิกของตะวันตก โดยแปลมาจากคำว่า composer นั่นเอง อย่างไรก็ดี บางท่านอาจใช้คำว่า ดุริยกวี แต่ก็มีความหมายอย่างเดียวกัน สำหรับผู้ที่แต่งเพลงในแนวดนตรีอื่นๆ มักจะเรียกว่า นักแต่งเพลง หรือ ครูเพลง เท่านั้น
          คีตกวี อาจไม่จำเป็นต้องประพันธ์ดนตรีลงในแผ่นกระดาษเพียงอย่างเดียว แต่อาจเป็นผู้บรรเลงบทประพันธ์นั้นเป็นครั้งแรก และในภายหลังมีผู้อื่นนำไปใช้บรรเลงตามก็ได้ชื่อว่า คีตกวี เช่นกัน โดยทั่วไปเราจะรู้จักคีตกวีในฐานะที่เป็นนักดนตรีแม้ว่าหลายท่านจะมีผลงานการประพันธ์ดนตรีมากกว่าผลงานการบรรเลงก็ตาม

หลวงประดิษฐ์ไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง)
หลวงประดิษฐ์ไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง)
         เป็นบุตรครูสิน ศิลปบรรเลง ซึ่งเป็นศิษย์ของพระประดิษฐ์ไพเราะ เป็นคนจังหวัด สมุทรสงคราม มีฝีมือในการตีระนาดที่หาตัวจับยาก จึงมีชื่อเสียงโด่งดัง ครั้นได้ตีระนาดถวายสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยาภาณุพันธ์ ก็ได้รับรางวัลมากมาย และได้ประทานตำแหน่งเป็น "จางวางมหาดเล็กในพระองค์" คนทั่วไปจึงเรียกว่า "จางวางศร"
         นอกจากระนาดแล้ว ท่านยังสามารถบรรเลงปี่ได้ดี และสามารถคิดหาวิธีเป่าปี่ให้ เสียงสูงขึ้นกว่าเดิมได้อีก 2 เสียง
         ในด้านการแต่งเพลง ท่านสามารถแต่งเพลงได้เร็ว และมีลูกเล่นแพรวพราว แม้ในการประกวดการประดิษฐ์ทางรับ คือการนำเพลงที่ไม่เคยรู้จักมาร้องให้ ปี่พาทย์รับ ท่านก็สามารถนำวงรอดได้ทุกครา
         ผลงานเด่นๆ ของท่านมีมากมาย ได้แก่
         - ประดิษฐ์วิธีบรรเลงดนตรี "ทางกรอ" ขึ้นใหม่ในเพลง"เขมรเรียบพระนครสามชั้น" เป็นผลให้ได้รับพระราชทานเหรียญรุจิทอง ร.5 และ ร.6
         - ต้นตำรับเพลงทางเปลี่ยน คือ เพลงเดียวกันแต่บรรเลงไม่ซ้ำกันในแต่ละเที่ยว
         - พระอาจารย์สอนดนตรีแด่พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว จนทรงมีพระปรีชาสามารถ พระราชนิพนธ์เพลงได้เอง คือเพลง "คลื่นกระทบฝั่งโหมโรง" "เขมรละออองค์เถา" และ "ราตรีประดับดาวเถา"
         - คิดโน๊ตตัวเลขสำหรับเครื่องดนตรีไทยซึ่งได้ใช้มาจนทุกวันนี้
         - นำเครื่องดนตรีชวาคือ "อังกะลุง" เข้ามาและได้แก้ไขจนเป็นแบบไทย
         - สอนดนตรีไทยในพระราชสำนักเมืองกัมพูชา และได้นำเพลงเขมรมาทำเป็น เพลงไทยหลายเพลง
         - ตันตำรับการแต่งเพลงและบรรเลงเพลง 4 ชั้น
         ท่านเป็นคีตกวีในสมัยรัชกาลที่ 6 ถึงรัชกาลที่ 7 ซึ่งนับว่าเป็นดวงประทีปทาง ดนตรีไทย ที่ใหญ่ที่สุดในยุคที่ดนตรีไทยเฟื่องฟูที่สุดด้วย


พระยาประสานดุริยศัพท์ (แปลก ประสานศัพท์)
พระยาประสานดุริยศัพท์ (แปลก ประสานศัพท์)
             "ครูแปลก" เกิดที่หลังวังกรมพระสมมตอมรพันธ์ เป็นศิษย์คนหนึ่งของครูช้อย สุนทรวาทิน ท่านเคยได้บรรเลงเดี่ยวขลุ่ยถวายต่อหน้า สมเด็จพระนางเจ้าวิคทอเรียที่พิพิธภัณฑ์เมืองริมบลีย์ จนถึงกับถูกขอให้ไปเป่าถวายในพระราชวังบัคกิงแฮมต่อด้วย
         
ครูแปลกเป็นคนติดเหล้าอย่างหนัก แต่ไม่เคยเมาต่อหน้าศิษย์ ได้เป็นครูสอนวงเครื่องสายหญิงของเจ้าดารารัศมี ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ครั้งแรกเป็นขุนประสานดุริยศัพท์ จนได้เป็นพระยาประสานดุริยศัพท์ใน พ.ศ. 2458 ท่านเคยเป่าปี่เพลงทยอยเดี่ยวในพระประดิษฐ์ไพเราะฟัง ถึงกับได้รับคำชมว่า "เก่งไม่มีใครสู้"
         นอกจากท่านจะเชี่ยวชาญปี่และขลุ่ยแล้ว ยังเก่งพวกเครื่องหนังด้วย ขนาดสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยาภานณุพัธุวงศ์วรเดชตรัสชมว่า "ไม่ใช่คนนี่.. ไอ้นี่มันเป็นเทวดา" ท่านเป็นอาจารย์ของศิษย์ชั้นครูมากมาย เช่นพระเพลงไพเราะ หลวงประดิษฐ์ไพเราะ พระยาภูมิเสวิน อาจารย์มนตรี ตราโมท เป็นต้น
         
ผลงานเพลงที่สำคัญได้แก่ เพลงเขมรปากท่อเถา เขมรราชบุรีสามชั้น ธรณีร้องไห้สามชั้น (ธรณีกันแสง) พม่าห้าท่อนสามชั้น วิเวกเวหาสามชั้น แขกเชิญเจ้าสองชั้น


พระเพลงไพเราะ (โสม สุวาทิต)
พระเพลงไพเราะ (โสม สุวาทิต)
         ครูโสม เกิดที่ฝั่งธนบุรี เริ่มเรียนระนาดลิเกจากน้าชาย จากนั้นได้เข้าร่วมเป็นนักดนตรีในกองดนตรีของสมเด็จพระบรม (รัชกาลที่ 6) เป็นคนตีระนาดหน้าฉากเวลาละครเปลี่ยนฉาก มีฝีมือในทางระนาดเป็นเยี่ยม ถึงขนาดเคยตีเอาชนะนายชิน ชาวอัพวา ซึ่งเป็นระนาดมือหนึ่งในสมัยนั้นมาแล้ว
         
นอกจากนั้นยังสามารถตีรับลิเกในเพลงที่ไม่เคยได้ยินมาก่อนได้ด้วย จนพระยาประสานดุริยศัพท์ชมว่า "โสมแกเก่งมาก ครูเองยังจนเลย"
ครั้งหนึ่งเคยได้ตีระนาดเพลงกราวในถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 เมื่อครั้งทรงพระประชวรให้บรรทม ครั้นตื่นพระบรรทมก็ทรงชมว่า "โสม เจ้ายังตีฝีมือไม่ตกเลย" นับว่าการตีปี่พาทย์ประกอบโขนละครในสมัยนั้น (รัชกาลที่ 5-7) ไม่มีใครสู้ครูโสมได้
         
ท่านได้บรรดาศักดิ์เป็นพระ เมื่อ พ.ศ.2460 และถึงแก่กรรมเพราะซ้อมระนาดหนักจนพักผ่อนไม่เพียงพอ และทานอาหารไม่เป็นเวลาจนเป็นโรคกระเพาะ รวมอายุได้ 49 ปี


ที่มา : http://student.nu.ac.th/thaimusicclub/keetak.htm

วันจันทร์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2554

วงมโหรี

          วงมโหรีเป็นวงดนตรีที่ใช้สำหรับขับกล่อมนิยมใช้บรรเลงในงานมงคลโดยเฉพาะงานมงคลสมรส แต่โบราณใช้บรรเลงกล่อมพระบรรทมสำหรับพระมหากษัตริย์ เครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงในวงนี้ประกอบด้วยเครื่องดนตรีในวงปี่พาทย์และวงเครื่องสาย หากแต่เครื่องดนตรีในวงปี่พาทย์ที่นำเข้ามาผสมในมโหรีนี้ได้ลดขนาดให้เล็กลง เพื่อให้มีเสียงพอเหมาะกับเครื่องดนตรีในวงเครื่องสาย และใช้ซอสามสายเข้ามาร่วมบรรเลงด้วย

วงมโหรีนี้มีมาแต่โบราณและได้มีการพัฒนาในเรื่องการผสมวง แต่เดิมมีวงมโหรีเครื่องสี่ วงมโหรีเครื่องหก ปัจจุบันวงมโหรีได้มีพัฒนาและเพิ่มเครื่องดนตรีเป็นวงมาตรฐานแบ่งได้ ๓ ขนาด ดังนี



 ๑. วงมโหรีเครื่องเล็ก
เครื่องดนตรีในวงบรรเลงประกอบด้วย
๑.ซอสามสาย, ๒.ซอด้วง,๓.ซออู้, ๔.จะเข้, ๕.ขลุ่ยเพียงออ, ๖.ระนาดเอกมโหรีฒ ๗.ฆ้องกลาง, ๘.โทน- รำมะนา, ๙.ฉิ่ง



๒. วงมโหรีเครื่องคู่
เครื่องดนตรีในวงบรรเลงประกอบด้วย
๑.ซอสามสาย, ๒.ซอสามสายหลิบ, ๓.ซอด้วง ๒ คัน, ๔.ซออู้ ๒ คัน, ๕.จะเข้ ๒ ตัว, ๖.ขลุ่ยเพียงออ, ๗.ขลุ่ยหลิบ, ๘.ระนาดเอกมโหรี, ๙.ระนาดทุ้มไม้มโหรี, ๑๐.ฆ้องกลาง, ๑๑.ฆ้องวงเล็กมโหรี, ๑๒.โทน- รำมะนา, ๑๓.ฉิ่ง, ๑๔. ฉาบเล็ก
    
๓. วงมโหรีเครื่องใหญ่
เครื่องดนตรีในวงบรรเลง ประกอบด้วย
๑.ซอสามสาย, ๒.ซอสามสายหลิบ, ๓.ซอด้วง ๒ คัน, ๔.ซออู้ ๒ คัน, ๕.จะเข้ ๒ ตัว, ๖.ขลุ่ยเพียงออ, ๗.ขลุ่ยหลิบ, ๘.ระนาดเอกมโหรี, ๙.ระนาดทุ้มไม้มโหรี, ๑๐.ระนาดเอกเหล็กมโหรี, ๑๑.ระนาดทุ้มเหล็กมโหรี, ๑๒.ฆ้องกลาง, ๑๓.ฆ้องวงเล็กมโหรี, ๑๔.โทน- รำมะนา, ๑๕.ฉิ่ง, ๑๖.ฉาบเล็ก, ๑๗.โหม่ง

ที่มา : http://www.artbangkok.com/detail_page.php?sub_id=346

วงเครื่องสาย

        เป็นวงดนตรีที่ใช้เครื่องดนตรีที่มีสายประเภทเครื่องดีดและเครื่องสีเป็นหลัก และมีเครื่องเป่า และเครื่องตีร่วมบรรเลงอยู่ด้วย ส่วนใหญ่ใช้บรรเลงในงานมงคลไม่นิยมใช้บรรเลงในงานอวมงคล วงเครื่องสายมี 3 ประเภท

๑. วงเครื่องสาย มี 2 ขนาด
วงเครื่องสายวงเล็ก เครื่องดนตรีในวงบรรเลง ประกอบด้วย



๑.ซอด้วง, ๒ ซออู้, ๓.จะเข้, ๔.ขลุ่ยเพียงออ, ๕.โทน - รำมะนา, ๖.ฉิ่ง

วงเครื่องสายเครื่องคู่ เครื่องดนตรีในวงบรรเลง ประกอบด้วย



๑.ซอด้วง ๒ คัน, ๒.ซออู้ ๒ คัน, ๓.จะเข้ ๒ ตัว, ๔.ขลุ่ยเพียงออ, ๕.ขลุ่ยหลิบ, ๖.โทน - รำมะนา, ๗.ฉิ่ง

๒. วงเครื่องสายปี่ชวา
มีเครื่องดนตรีในวงบรรเลงเหมือนกับวงเครื่องสายทุกอย่างแต่ใช้ปี่ชวาแทนขลุ่ยเพียง และใช้กลองแขกแทนโทน-รำมะนา
๑.ซอด้วง, ๒.ซออู้, ๓.จะเข้, ๔.ปี่ชวา, ๕.ขลุ่ยหลีบ, ๖.กลองแขก, ๗.ฉิ่ง

๓. วงเครื่องสายผสม
มีเครื่องดนตรีในวงบรรเลงเหมือนกับวงเครื่องสายทุกอย่าง แต่เพิ่มเครื่องดนตรีประเภททำทำนองเข้ามาผสม 1 ชิ้น เช่น ขิม เรียกว่าเครื่องสายผสมขิม

ที่มา : http://www.artbangkok.com/detail_page.php?sub_id=344

วงปี่พาทย์

          วงปี่พาทย์เป็นวงดนตรีที่ประกอบด้วยเครื่องตี เป็นหลักโดยมีเครื่องเป่าคือขลุ่ยหรือปี่ร่วมอยู่ด้วย ใช้สำหรับเป็นเครื่องประโคมในพิธีกรรมต่าง ๆ รวมทั้งการแสดงโขน–ละคร ฟ้อนรำ และมีการผสมวงตามโอกาสที่ใช้ทำให้จำนวนของเครื่องดนตรีมีน้อยมากแตกต่างกันไป ดังนี้



๑. วงปี่พาทย์ชาตรี
วงปี่พาทย์ชาตรี เป็นวงที่บรรเลงประกอบการแสดงโนรา หนังตลุง และละครชาตรีเครื่องดนตรีในวงบรรเลงประกอบด้วย
๑.ปี่นอก, ๒.โทน ๑ คู่, ๓.กลองชาตรี ๑ คู่, ๔.ฆ้องคู่ ๑ ราง, ๕.กรับ, ๖.ฉิ่ง


 ๒.วงปี่พาทย์ไม้แข็ง
วงปี่พาทย์ไม้แข็งเป็นวงที่ใช้สำหรับประกอบการแสดงและประ โคมทั่วไปมี ๓ ขนาดคือ
วงปี่พาทย์เครื่องห้า เครื่องดนตรีในวงบรรเลงประกอบด้วย
๑.ปี่ใน, ๒.ระนาดเอก, ๓.ฆ้องวงใหญ่, ๔.ตะโพน, ๕.กลองทัด, ๖.ฉิ่ง
วงปี่พาทย์เครื่องคู่ เครื่องดนตรีในวงบรรเลง ประกอบด้วย
๑.ปี่ใน, ๒.ปี่นอก (ปัจจุบันไม่ค่อยได้ใช้), ๓.ระนาดเอก, ๔.ระนาดทุ้มไม้, ๕.ฆ้องวงใหญ่, ๖.ฆ้องวงเล็ก, ๗.ตะโพน, ๘.กลองทัด, ๙.ฉิ่ง, ๑๐.ฉาบ, ๑๑.โหม่ง

วงปี่พาทย์เครื่องใหญ่ เครื่องดนตรีในวงบรรเลง ประกอบด้วย
๑. ปี่ใน, ๒.ปี่นอก (ปัจจุบันไม่ค่อยได้ใช้), ๓.ระนาดเอก, ๔.ระนาดทุ้มไม้, ๕.ระนาดเอกเหล็ก, ๖.ระนาดทุ้มเหล็ก, ๗. ฆ้องวงใหญ่, ๘.ฆ้องวงเล็ก, ๙.ตะโพน, ๑๐.กลองทัด, ๑๑.ฉิ่ง, ๑๒.ฉาบ, ๑๓.โหม่ง

๓. วงปี่พาทย์ไม้นวม
มีเครื่องดนตรีในวงบรรเลงและขนาดเหมือนวงปี่พาทย์ไม้แข็งทุกอย่าง แต่มีความแตกต่างกันที่ วงปี่พาทย์ไม้แข็งใช้ไม้ตีที่ทำด้วยเชือกแล้วชุบรักเวลาตีลงบนผืนระนาดแล้วเสียงจะกร้าวแกร็ง แต่วงปี่พาทย์ไม้นวมจะใช้ไม้ระนาดที่พันด้วยผ้าและเชือก ตีลงบนผืนระนาดแล้วมีเสียงนุ่มนวล และในวงปี่พาทย์ไม้นวมนี้ ใช้ขลุ่ยเพียงออ แทนปี่ รวมทั้งใช้ซออู้เข้ามาผสมอยู่ในวงด้วย
การบรรเลงจะมีลักษณะแตกต่างกับวงปี่พาทย์ไม้แข็ง โดยเฉพาะเสียงที่ใช้บรรเลงจะต่ำกว่าเสียงของวงปี่พาทย์ไม้แข็ง ๑ เสียง

วงปี่พาทย์ไม้นวมเครื่องห้า เครื่องดนตรีในวงบรรเลงประกอบด้วย
๑.ขลุ่ย, ๒.ระนาดเอก, ๓.ฆ้องวงใหญ่, ๔.ซออู้, ๕.ตะโพน, ๖.กลองแขก, ๗.ฉิ่ง

วงปี่พาทย์ไม้นวมเครื่องคู่ เครื่องดนตรีในวงบรรเลง ประกอบด้วย
๑.ขลุ่ย, ๒.ระนาดเอก, ๓.ระนาดทุ้มไม้, ๔.ฆ้องวงใหญ่, ๕.ฆ้องวงเล็ก, ๖.ซออู้, ๗.ตะโพน, ๘.กลองแขก, ๙.ฉิ่ง, ๑๐.ฉาบ, ๑๑.โหม่ง

วงปี่พาทย์เครื่องใหญ่ เครื่องดนตรีในวงบรรเลง ประกอบด้วย
๑.ขลุ่ย, ๒.ระนาดเอก, ๓.ระนาดทุ้มไม้, ๔ฆ้องวงใหญ่, ๕.ฆ้องวงเล็ก, ๖ระนาดเอกเหล็ก, ๗.ระนาดทุ้มเหล็ก, ๘.ซออู้, ๙.ตะโพน, ๑๐.กลองแขก, ๑๑.ฉิ่ง, ๑๒.ฉาบ, ๑๓.โหม่ง

๔. วงปี่พาทย์เสภา
มีเครื่องดนตรีและขนาดของวงเหมือนวงปี่พาทย์ไม้แข็งทุกอย่าง แต่นำตะโพน-กลองทัดออก ใช้กลองสองหน้าแทน แต่โบราณใช้บรรเลงประกอบการขับเสภาที่เป็นเรื่องเป็นตอน มีระเบียบของการบรรเลงโดยเริ่มจาก โหมโรงเสภา และมีการขับร้องรับปี่พาทย์ด้วยเพลงพม่าห้าท่อน เพลงจระเข้หางยาว เพลงสี่บท และเพลงบุหลัน เรียงลำดับกันไป ต่อจากนั้นจะเป็นเพลงอื่นใดก็ได้ วงปี่พาทย์เสภานี้เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๒

วงปี่พาทย์เครื่องห้า เครื่องดนตรีในวงบรรเลงประกอบด้วย
๑. ปี่ใน, ๒.ระนาดเอก, ๓.ฆ้องวงใหญ่, ๔.กลองสองหน้า/กลองแขก, ๕.ฉิ่ง
 
วงปี่พาทย์เครื่องคู่ เครื่องดนตรีในวงบรรเลง ประกอบด้วย
๑. ปี่ใน, ๒.ปี่นอก (ปัจจุบันไม่ค่อยได้ใช้), ๓.ระนาดเอก, ๔.ระนาดทุ้มไม้, ๕.ฆ้องวงใหญ่, ๖.ฆ้องวงเล็ก, ๗. กลองสองหน้า / กลองแขก, ๘.ฉิ่ง, ๙.ฉาบ, ๑๐.กรับ, ๑๑.โหม่ง
วงปี่พาทย์เครื่องใหญ่ เครื่องดนตรีในวงบรรเลง ประกอบด้วย
๑.ปี่ใน, ๒.ปี่นอก (ปัจจุบันไม่ค่อยได้ใช้), ๓.ระนาดเอก, ๔.ระนาดทุ้มไม้, ๕.ระนาดเอกเหล็ก, ๖.ระนาดทุ้มเหล็ก, ๗. ฆ้องวงใหญ่, ๘.ฆ้องวงเล็ก, ๙.กลองสองหน้า / กลองแขก, ๑๐.ฉิ่ง, ๑๑.ฉาบ, ๑๒.กรับ, ๑๓.โหม่ง

๕. วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์
วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์เป็นวงดนตรีที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงปรับปรุงขึ้นใหม่ โดยใช้เครื่องดนตรีที่มีเสียงทุ้มนุ่มนวม และไม่ใช้เครื่องดนตรีที่มีเสียงเล็กแหลม เช่น นำเอาฆ้องวงเล็ก และระนาดเอกเหล็ก ออกไป ใช้ขลุ่ยเพียงออแทนปี่ และยังมีขลุ่ยอู้เพิ่มขึ้น 1 เลา ใช้กลองตะโพนแทนกลองทัด และเพิ่มซออู้ กรับพวงเข้ามาร่วมบรรเลงด้วย สัญญลักษณ์ที่โดดเด่น เห็นชัดเจนสำหรับเครื่องดนตรีอีกชนิดหนึ่ง ก็คือ ฆ้องหุ่ย ๗ ใบ ๗ เสียง



วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์นี้ ใช้สำหรับบรรเลงประกอบการแสดงละครดึกดำบรรพ์เท่านั้น เครื่องดนตรีในวงบรรเลงประกอบด้วย
๑.ระนาดเอก (ใช้ไม้นวม), ๒. ระนาดทุ้มไม้, ๓.ระนาดทุ้มเหล็ก ,๔.ฆ้องวงใหญ่, ๕.ขลุ่ยเพียงออ, ๖.ขลุ่ยอู้, ๗. ซออู้, ๘.ฆ้องหุ่ย ๗ ใบ ๗ เสียง, ๙. ตะโพน, ๑๐.กลองตะโพน, ๑๑.กลองแขก, ๑๒.ฉิ่ง, ๑๓.กรับพวง

๖. วงปี่พาทย์นางหงส์
เป็นวงดนตรีที่ใช้ในงานอวมงคล(งานศพ)มีเครื่องดนตรีในวงเหมือนกับวงปี่พาทย์ไม้แข็งเพียงแต่เปลี่ยนมาใช้ปี่ชวาแทนปี่ใน ใช้กลองมลายู ๑ คู่ เข้ามาร่วมบรรเลงด้วย เครื่องดนตรีในวงบรรเลงแบ่งได้ ๓ ขนาด ดังนี้



วงปี่พาทย์นางหงส์เครื่องห้า เครื่องดนตรีในวงบรรเลง ประกอบด้วย
๑.ปี่ชวา,๒.ระนาดเอก, ๓.ฆ้องวงใหญ่, ๔.ฆ้องวงเล็ก, ๕กลองมลายู, ๖.ฉิ่ง

วงปี่พาทย์นางหงส์เครื่องคู่ เครื่องดนตรีในวงบรรเลง ประกอบด้วย
๑. ปี่ชวา๒. ระนาดเอก ๓ ระนาดทุ้ม ๔. ฆ้องวงใหญ่ ๕. ฆ้องวงเล็ก ๖.กลองมลายู ๗. ฉาบเล็ก ๘. ฉิ่ง ๙. โหม่ง ๑๐.ฉาบใหญ่
 
วงปี่พาทย์นางหงส์เครื่องใหญ่ เครื่องดนตรีในวงบรรเลง ประกอบด้วย
๑.ปี่ชวา, ๒.ระนาดเอก, ๓.ระนาดทุ้ม, ๔.ระนาดเอกเหล็ก, ๕.ระนาดทุ้มหล็ก, ๖.ฆ้องวงใหญ่, ๗.ฆ้องวงเล็ก, ๘.กลองมลายู, ๙.ฉาบเล็ก, ๑๐.ฉาบใหญ่, ๑๑.ฉิ่ง, ๑๒.โหม่ง, ๑๓.ฉาบใหญ่

๗. วงปี่พาทย์มอญ

เป็นวงดนตรีที่ชาวมอญนำเครื่องดนตรีเข้ามา พร้อมกับการย้ายถิ่นฐานบ้านเรือน ต่อมาได้มีการพัฒนาเป็นวงปี่พาทย์มอญ โดยใช้หลักการของวงปี่พาทย์ไม้แข็งเป็นหลัก แต่ใช้เครื่องดนตรีของมอญตั้งอยู่ด้านหน้าของวง เช่น ฆ้องมอญ ปี่มอญ ตะโพนมอญ เปิงมางคอก ด้านหลังจะเป็นระนาดเอก ระนาดทุ้ม และเครื่องดนตรีชิ้นอื่น ๆ ของวงปี่พาทย์(ไทย) เมื่อตั้งวงดนตรีแล้วจะเห็นความแตกต่างอย่างชัดเจน

โอกาสที่ใช้ชาวมอญจะใช้บรรเลงทั้งงานมงคลและงานอวมงคล สำหรับชาวไทยจะใช้บรรเลงเฉพาะงานอวมงคลเท่านั้น เครื่องดนตรีในวงบรรเลงของวงปี่พาทย์ แบ่งเป็น 3 ขนาด ดังนี้

 ปี่พาทย์มอญเครื่องห้า เครื่องดนตรีในวงบรรเลง ประกอบด้วย
๑. ฆ้องมอญวงใหญ่ ๒. ระนาดเอก ๓. ปี่มอญ ๔ ตะโพนมอญ ๕. เปิงมางคอก ๖. ฉิ่ง

ปี่พาทย์มอญเครื่องคู่ เครื่องดนตรีในวงบรรเลง ประกอบด้วย
๑. ฆ้องมอญวงใหญ่ ๒.ฆ้องมอญวงเล็ก ๓. ระนาดเอก ๔.ระนาดทุ้ม ๕. ปี่มอญ๖. ตะโพนมอญ ๗. เปิงมางคอก ๘. โหม่ง ๓ ลูก ๙.ฉิ่ง ๑๐. ฉาบเล็ก ๑๑.ฉาบใหญ่ ๑๒.กรับ

ปี่พาทย์มอญเครื่องใหญ่ เครื่องดนตรีในวงบรรเลง ประกอบด้วย
๑.ฆ้องมอญวงใหญ่, ๒.ฆ้องมอญวงเล็ก, ๓.ระนาดเอก, ๔.ระนาดทุ้มไม้, ๕.ระนาดเอกเหล็ก, ๖.ระนาดทุ้มเหล็ก, ๗.ปี่มอญ, ๘.ตะโพนมอญ, ๙. เปิงมางคอก, ๑๐.โหม่ง ๓ ลูก, ๑๑.ฉิ่ง, ๑๒.ฉาบเล็ก, ๑๓.ฉาบใหญ่, ๑๔.กรับ

ที่มา : http://www.artbangkok.com/detail_page.php?sub_id=345

วันอาทิตย์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2554

วงดนตรีไทย

             ในสมัยที่ชนชาติไทยได้เลื่อนไหลเข้าสู่แดนสุวรรณภูมิหรือที่เรียกกันว่าแหลมทอง    อารยธรรมของอินเดียเป็นต้นว่า   ลัทธิศาสนาก็ดี  ศิลปะวิทยาการต่างๆก็ดี   ได้แพร่หลายเป็นที่นิยมยิ่งกว่าของชาติใดๆทั้งสิ้น   ดังนั้นการดนตรีซึ่งจะได้มาเริ่มกันใหม่ในแดนนี้  จึงดำเนินไปโดยถือเอาแบบอย่างของอินเดียเป็นหลักโดยมาก   ต่อมาเมื่อกาลเวลาผันแปรไป  วิถีชีวิตและสังคมของชาวไทยได้มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงมากขึ้น   พร้อมกันนั้นเอง  วงดนตรีไทยของเดิมที่ถือเอาแบบอย่างจากอินเดียดังที่เคยมีมาในอดีตก็ได้มีการพัฒนาการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงไปตามความเหมาะสมแห่งยุคสมัยไปด้วย

ปัจจุบันเราสามารถแบ่งวนดนตรีไทยแบบมาตรฐานออกเป็น 3 ประเภท คือ

 1.วงปี่พาทย์

 2.วงเครื่องสาย

 3.วงมโหรี

วันพุธที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2554

เครื่องเป่า

เครื่องเป่า เป็นเครื่องดนตรีที่ทำให้เกิดเสียงจากลมเป่า อุปกรณ์ดังเดิมได้จากพืช ได้แก่หลอดไม้ต่าง ๆ และจากสัตว์ ได้แก่ เขาสัตว์ต่างๆ ต่อมาได้มีวิวัฒนาการด้วยการเจาะรูและทำลิ้น เพื่อให้เกิดระดับเสียงได้มาก เครื่องดนตรีเหล่านี้ ได้แก่ ขลุ่ยชนิดต่าง ๆ ปี่ ชนิดต่าง ๆ และแคน เป็นต้น

ตัวอย่างเครื่องเป่า
         
                    แคน เป็นเครื่องเป่าพื้นเมืองของชาวอีสานเหนือที่ใช้ไม้ซางขนาดต่าง ๆ ประกอบกันเข้าเป็นตัวแคน แคนเป็นสัญลักษณ์ของภาคอีสาน เป็นเครื่องเป่ามีลิ้นโลหะ เสียงเกิดจากลมผ่านลิ้นโลหะไปตามลำไม้ที่เป็นลูกแคน การเป่าแคนต้องใช้ทั้งเป่าลมเข้าและดูดลมออกด้วย จึงเป่ายากพอสมควร แคนมีหลายขนาด บางขนาดมีเสียงประสานอยู่ด้วย

เครื่องสี

          เป็นเครื่องสายที่ทำให้เกิดเสียงด้วยการใช้คันชักสีเข้ากับสายในดนตรีไทย เรียกว่า ซอ ซึ่งมีอยู่ 3 ชนิด ด้วยกัน คือ ซอสามสาย ซออู้ และซอด้วงที่เป็นเครื่องดนตรีพื้นบ้านได้แก่ สะล้อ สำหรับประเทศทางตะวันตก เครื่องดนตรีประเภทนี้ได้แก่ ไวโอลินและไวโอลา เป็นต้น

ตัวอย่างเครื่องสี
                ซอด้วง เป็นซอสองสาย  เป็นซอที่มีเสียงแหลมเล็กที่สุดในเวลาเข้าประสมวง จะทำหน้าที่เป็นผู้นำวง โดยบรรเลงทำนองหลักด้วยทำนองหวานบ้าง เก็บบ้าง หรือเร็วบ้าง ตามความเหมาะสมที่มีอยู่ในเพลง
          คันทวนซอด้วงยาวประมาณ 72 ซม คันชักยาวประมาณ 68 ซม ใช้ขนหางม้าประมาณ 120 – 150 เส้น กะโหลกของ ซอด้วงนั้น แต่เดิมใช้กระบอกไม้ไผ่มาทำ ปากกระบอกของซอด้วงกว้างประมาณ 7 ซม ตัวกระบอกยาวประมาณ 13 ซม กะโหลกของซอด้วงนี้ ในปัจจุบันใช้ไม้จริง หรือ งาช้างทำก็ได้
          แต่ที่นิยมว่าเสียงดีนั้น กะโหลกซอด้วงต้องทำด้วยไม้ลำเจียก ส่วนหน้าซอนิยมใช้หนังงูเหลือมขึง เพราะทำให้เกิดเสียงแก้วเกิดความไพเราะอย่างยิ่ง ลักษณะขอซอด้วง มีรูปร่างเหมือนกับซอของจีนที่เรียกว่า ฮู ฉิน (Huchin)ทุกอย่าง เหตุที่เรียกว่า ซอด้วง ก็เพราะมีรูปร่างคล้ายเครื่องดักสัตว์ เพราะตัวด้วงดักสัตว์ ทำด้วยกระบอกไม้ไผ่เหมือนกัน จึงได้เรียกชื่อไปตามลักษณะนั้นนั่นเอง
          สายซอด้วงนั้น มีเพียงสองสายและมีเสียงอยู่ สองเสียง คือสายเอกจะเป็นเสียง "เร" ส่วนสายทุ้มจะเป็นเสียง "ซอล" โดยใช้สายไหมฟั่นหรือว่าสายเอ็นก็ได้

วันอังคารที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2554

เครื่องตี

เครื่องตีเป็นเครื่องดนตรีที่ทำให้เกิด เสียงดนตรีด้วยการใช้ของสองสิ่งกระทบกัน ด้วยการตี นับว่าเป็นเครื่องดนตรีประเภท เก่าแก่ที่สุดที่ที่มนุษย์รู้จักใช้ ได้มีวิวัฒนาการจากอุปกรณ์ง่ายๆ ให้มี ความหลากหลายออกไปทั้งรูปแบบและวัสดุที่ใช้ สำหรับเครื่องดนตรีไทย ที่เป็นประเภทเครื่องตีมีดังนี้

เครื่องตีที่ทำด้วยไม้

                   กรับเสภา ทำด้วยไม้เนื้อแข็ง ลักษณะเป็นแท่งสี่เหลี่ยม มีสันมน การตีใช้ขยับมือที่ละคู่ การขับเสภาใช้กรับสองคู่ ถือมือละคู่ ผู้ขับเสภาจะขยับกรับ สองคู่นี้ตามท่วงทำนองที่เรียกเป็นไม้ต่าง ๆ เช่น ไม้กรอ ไม้หนึ่ง ไม้รบ หรือไม้สี่
                                                                   
       
เครื่องตีที่ทำด้วยโลหะ

                                 
ฆ้องมอญ  เป็นเครื่องดนตรีที่ได้รับอิทธิพลมาจากมอญมีลักษณะตั้งโค้งขึ้นไป ไม่ตั้งราบกับพื้นแบบฆ้องไทย วงฆ้องทำจากไม้แกะสลักปิดทองอย่างสวยงาม ทางโค้งด้านซ้ายของผู้ตีแกะเป็นรูปต่างๆตามต้องการ แต่ส่วนใหญ่จะนิยมรูปเทวดา ทางโค้งด้านขวาทำเป็นรูปปลายหาง มีเท้ารองตรงกลางเหมือนระนาดเอก ฆ้องมอญมีลูกฆ้อง 15 ลูก แต่ฆ้องมอญจะไม่เรียงเสียงเหมือนฆ้องไทย ในบางช่วงมีการข้ามเสียง เรียกเสียงที่ข้ามว่า"หลุม"
ฆ้องมอญทำหน้าที่เดินทำนองเพลงเช่นเดียวกับฆ้องวงใหญ่ของไทย ฆ้องมอญมี 2 ขนาดเหมือนกับฆ้องไทยคือ ฆ้องมอญใหญ่และฆ้องมอญเล็ก ฆ้องมอญใช้เล่นในวงปี่พาทย์มอญ

เครื่องตีที่ทำด้วยหนัง


                      กลอง  เป็นเครื่องดนตรีประเภทตี สำหรับใช้บอกสัญญาณ บอกจังหวะ และใช้ประกอบเครื่องดนตรีอื่น ๆ ตัวกลองเรียกว่า "หุ่น" ทำด้วยไม้ ข้างในเป็นโพรง หน้าขึงด้วยหนังมีทั้งหน้าเดียวและสองหน้า ที่เป็นหน้าเดียว ได้แก่ โทน รำมะนา กลองยาว ที่เป็นสองหน้า ได้แก่ กลองทัด ตะโพน เปิงมาง กลองแขก กลองมะลายู กลองชนะ บัณเฑาะว์ การขึ้นหนังมีทั้งตรึงด้วยหมุด และโยงเร่งด้วยเส้นหนัง หวายหรือลวด
                                                                                          

                        

เครื่องดีด

           เครื่องดนตรีประเภทดีดพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานให้ความหมายไว้ว่า เป็นเครื่องบรรเลงซึ่งมีเสียงดัง ทำให้รู้สึกเพลิดเพลิน หรือเกิดอารมณ์รัก โศก และรื่นเริงได้ตามทำนองเพลงเครื่องดนตรีที่เกิดเสียงด้วยการใช้มือหรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งดีดที่สาย แล้วเกิดเสียงดังขึ้น เราจะรวมเรียกว่า เครื่องดีด เครื่องดนตรีไทยประเภทเครื่องดีด เป็นเครื่องดนตรีที่อยู่ในเครื่องดนตรีตระกูลพิณ มีสายสำหรับดีด มีทั้งที่ตั้งขึ้นดีดและวางราบดีด ในประเทศไทยมีหลายชนิด รูปร่างลักษณะ วิธีการดีด และชื่อเรียกต่างกันออกไป เช่น จะเข้ พิณ ๕ สาย พิณเปี๊ยะหรือพิณเพี้ยะ พิณน้ำเต้า ซึง พิณอีสาน กระจับปี่ เป็นต้น

ตัวอย่างเครื่องดนตรีประเภทดีด

            จะเข้ เป็นเครื่องดนตรีประเภทดีด มี ๓ สาย แต่เดิมเป็นสายไหมสองสายและสายลวดหนึ่งสาย แต่ปัจจุบันนิยมใช้สายเอ็นแทนสายไหม ตัวจะเข้ทำด้วยไม้เนื้ออ่อน นิยมใช้ไม้ขนุน ขุดเป็นโพรง มีช่องเสียงอยู่ข้างล่าง มีนมติดอยู่ทางด้านบนของตัวจะเข้ ๑๑ นม เนื่องจากเป็นเครื่องดีดที่มีขนาดใหญ่เวลาดีดจึงวางราบกับพื้นไม่ยกขึ้นดีดอย่างพิณชนิดอื่นๆ บรรเลงร่วมอยู่ในวงเครื่องสายและมโหรี

      กระจับปี่ เป็นเครื่องดนตรีเก่าแก่ประเภทเครื่องดีด มีหลักฐานว่าเล่นกันมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา กล่องเสียงทำด้วยไม้ขุดเป็นโพรง มีช่องเสียงอยู่ด้านหน้า มีคันทวนค่อนข้างยาวปลายด้านบนงอนโค้ง มีสายสำหรับดีด ๔ สายทำด้วยไหม สายที่ ๑ กับสายที่ ๒ เทียบเสียงเท่ากันคู่หนึ่ง และสายที่ ๓ กับสายที่ ๔ เทียบเสียงเท่ากันอีกคู่หนึ่ง มีนมตั้งเสียงติดอยู่กับด้านหน้าของคันทวน

                พิณเปี๊ยะหรือพิณเพี้ยะ คำว่า "เปี๊ยะ" ในภาษาล้านนาแปลว่า อวด ซึ่งน่าจะหมายถึงการดีดอวดฝีมือ ของบรรดาผู้ชายชาวเหนือที่ใช้พิณชนิดนี้เป็นสื่อไปเกี่ยวพาราสีผู้หญิง กล่องเสียงของพิณเปี๊ยะทำมาจากกะลามะพร้าวผ่าซีก ผูกติดอยู่กับคันทวน มีสายตั้งแต่ ๒ สายขึ้นไป
                                                       

                                           
                         

ดนตรีไทย

เป็นศิลปะแขนงหนึ่งของไทย ได้รับอิทธิพลมาจาก ประเทศต่าง ๆ เช่น อินเดีย จีน อินโดนีเซีย และอื่น ๆ เครื่องดนตรีมี 4 ประเภท ได้แก่ ดีด สี ตี เป่า

ประวัติความเป็นมาของดนตรีไทย

สันนิษฐานว่า ดนตรีไทย ได้แบบอย่างมาจากอินเดีย เนื่องจาก อินเดียเป็นแหล่งอารยธรรมโบราณ ที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก อารยธรรมต่างๆของอินเดียได้เข้ามามีอิทธิพล ต่อประเทศต่างๆในแถบเอเชียอย่างมาก ทั้งในด้าน ศาสนา ประเพณีความเชื่อ ตลอดจนศิลปแขนงต่างๆโดยเฉพาะทางด้านดนตรี ปรากฎรูปร่างลักษณะ เครื่องดนตรี ของประเทศต่างๆในแถบเอเชีย เช่น จีน เขมร พม่า อินโดนิเซีย และ มาเลเซีย มีลักษณะคล้ายคลึงกันเป็นส่วนมาก ทั้งนี้เนื่องมาจาก ประเทศเหล่านั้นต่างก็ยึดแบบฉบับดนตรีของอินเดียเป็นบรรทัดฐาน รวมทั้งไทยเราด้วย เหตุผลสำคัญที่ท่านผู้รู้ได้เสนอทัศนะนี้ก็คือ ลักษณะของ เครื่องดนตรีไทย สามารถจำแนกเป็น 4 ประเภท คือ
                 - เครื่องดีด
                 - เครื่องสี
                 - เครื่องตี
                 - เครื่องเป่า
        ใกล้เคียงกับลักษณะ เครื่องดนตรี อินเดียตามที่กล่าวไว้ในคัมภีร์ "สังคีตรัตนากร" ของอินเดีย ซึ่งจำแนกเป็น 4 ประเภท เช่นกันคือ
                 - ตะตะ คือ เครื่องดนตรี ประเภทมีสาย
                 - สุษิระ คือ เครื่องเป่า
                 - อะวะนัทธะ หรือ อาตตะ คือ เครื่องหุ้มหนัง หรือ กลอง ต่าง ๆ
                 - ฆะนะ คือ เครื่องตี หรือ เครื่องกระทบ
การสันนิษฐานเกี่ยวกับ กำเนิดหรือที่มาของ ดนตรีไทย ตามแนวทัศนะข้อนี้ เป็นทัศนะที่มีมาแต่เดิม นับตั้งแต่ ได้มีผู้สนใจ และ ได้ทำการค้นคว้าหาหลักฐาน เกี่ยวกับเรื่องนี้ขึ้น และนับว่า เป็นทัศนะที่ได้รับการนำมากล่าวอ้างกันมาก บุคคลสำคัญที่เป็นผู้เสนอแนะแนวทางนี้คือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ พระบิดาแห่งวงการประวัติศาสตร์ของไทย